วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

จองโรงแรม ที่พักจังหวัดตาก ตาก ห้องพัก ที่พัก รีสอร์ท เดินทาง ท่องเที่ยวตาก

จังหวัดตากตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศ มีพื้นที่ทั้งหมด 16,406.65 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเป็นอันดับ 4 ของประเทศและเป็นอันดับ 2  ของภาคเหนือ  ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา 50 ลิปดา  36  ฟิลิปดาเหนือ  และเส้นแวงที่ 99  องศา 7 ลิปดา 22  ฟิลิปดาตะวันออก  สูงกว่าระดับน้ำทะเล 116.2 เมตร  มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 426 กิโลเมตร  สภาพภูมิประเทศของจังหวัดตากเป็นพื้นที่ตามแนวเทือกเขา โดยสภาพพื้นที่จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่  ๆ โดยมีเทือกเขาถนนธงชัยกั้นกลาง ทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไป เนื่องจากเทือกเขาถนนธงชัยเป็นตัวปะทะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน ทำให้ซีกตะวันออกได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมไม่เต็มที่ สภาพแห้งแล้ง ส่วนฝั่งตะวันตกจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมมากกว่าทำให้ปริมาณฝนตกมีความชุ่มชื้นโดยเฉพาะในที่ที่อยู่ในเขตภูเขา 
            ส่วนที่ 1   ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออก   ประกอบด้วย 4 อำเภอ  ได้แก่  อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และอำเภอวังเจ้า สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและที่ราบสูง ลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ำปิงและแม่น้ำวัง ทำให้เกิดพื้นที่ราบแคบริมสองฝั่งของแม่น้ำ
            ส่วนที่ 2   ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ประกอบด้วย 5 อำเภอ ได้แก่อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภอแม่ระมาด  อำเภออุ้มผาง และอำเภอท่าสองยาง ภูมิอากาศได้รับอิทธิพลมาจากมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน มีความชุ่มชื้น  ฝนตกมากกว่าซีกด้านตะวันออก
            จังหวัดตากมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย กำแพงเพชร  นครสวรรค์  อุทัยธานี  กาญจนบุรี และประเทศสหภาพพม่า ยาวประมาณ 540 กม. (แม่น้ำเมย 170 กม  เทือกเขาตะนาวศรี 370 กม.)
ระยะทางจากอำเภอเมืองตากไปอำเภอใกล้เคียง
อำเภอบ้านตาก                           22          กิโลเมตร                    
อำเภอวังเจ้า                               38          กิโลเมตร
อำเภอสามเงา                            56          กิโลเมตร
อำเภอแม่สอด                            86          กิโลเมตร
อำเภอแม่ระมาด                         120        กิโลเมตร
อำเภอพบพระ                            135        กิโลเมตร                    
อำเภอท่าสองยาง                        170        กิโลเมตร
อำเภออุ้มผาง                             251        กิโลเมตร



การเดินทาง จากกรุงเทพฯไปจังหวัดตาก
          
  รถยนต์จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเซีย ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ถึงนครสวรรค์ แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้ง ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และตรงไปจังหวัดตาก รวมระยะทาง 426  กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5-6 ชั่วโมง

 รถโดยสารประจำทางบริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถระหว่าง กรุงเทพฯ-ตาก ทั้งช่วงเช้า และช่วงเย็น เวลา 05.30 –13.30 น. และ 16.30 –22.30 น.สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารตากโทร 0 5551 1057   แม่สอด –กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแม่สอด โทร 0 5556 3465และกรุงเทพฯ-แม่สอด ตั้งแต่เวลา 08.00 –19.00 น. ทุกวัน สอบถาม รายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งหมอชิตใหม่ โทร. 0 2936 2852 – 66 หรือที่ www.transport.co.th


บริษัทรถโดยสารที่ให้บริการโดยเอกชน
บริษัท ทันจิตต์ ทัวร์ วิ่งจาก ตาก-กรุงเทพฯ เวลา 09.00, 11.30, 16.30  และ 22.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 0 5551 1307  วิ่งจากกรุงเทพฯ –ตาก ทุกวันเวลา 08.00, 13.00, 15.00 ,19.30 และ 22.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2936 3213
 และบริษัท เชิดชัย ทัวร์ วิ่งระหว่าง ตาก –กรุงเทพฯ ทุกวัน เวลา 09.00 และ 22.00 น. กรุงเทพฯ –ตาก ทุกวันเวลา 13.00 น.และ 22.30 น.สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 5551 1054  กรุงเทพฯโทร. 0 2936 0199
            เครื่องบิน
 บริษัท  การบินไทย จำกัด (มหาชน)ไม่มีเที่ยวบินที่บินตรงไปจังหวัดเมืองตาก แต่สามารถใช้เที่ยวบิน กรุงเทพฯ-พิษณุโลก หรือ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพฯ –สุโขทัย แล้วเดินทางไปจังหวัดตากโดยรถประจำทางหรือรถเช่าเหมา 

การเดินทางจากจังหวัดตากไปจังหวัดใกล้เคียง
บริษัท ขนส่ง จำกัด และ บริษัทเดินรถเอกชน  จัดรถโดยสารปรับอากาศ และรถธรรมดาวิ่งระหว่างอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิษณุโลก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์  ลำปาง  พะเยา  เชียงใหม่  อำเภอแม่สาย  จังหวัดเชียงราย อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ่อไร่ จังหวัดจันทบุรี สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่ง จังหวัดตาก โทร. 0 5551 1057สถานีขนส่ง อำเภอแม่สอด โทร.  0 5556 3435 บริษัท ไทยพัฒนกิจขนส่ง วิ่งระหว่างแม่สอด-เชียงราย-แม่สาย ออกจากสถานีขนส่งอำเภอแม่สอด เวลา 06.00 และ 08.00 น. และบริษัทเพชรประเสริฐ เปิดเส้นทางเดินรถ 2 เส้นทาง คือ สถานีขนส่งแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-ชะเชิงเทรา-ชลบุรี-ตราด-แหลมงอบ  เวลา17.00 น ทุกวัน และสถานีขนส่งแม่สอด-ตาก-พิษณุโลก-ข่อนแก่น-มุดาหาร เวลา 18.30 ทุกวัน

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จังหวัดตาก ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม

จังหวัดตาก หรือ เมืองตาก ในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่อาศัย มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่ อำเภอบ้านตากมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการอพยพของ ชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ลงมา ตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่ง ได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก” ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุคนั้น   ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี พ.ศ. 560  รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก   มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตาก มีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย   เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตาก   ที่อพยพมาจากตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก


                                  


      มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (ระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทาง ลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้างจึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า “เมืองตาก” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก
          ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงจัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า “พ่อขุนรามคำแหงมหาราช” และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบันเมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลา ที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุก พระองค์
          โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ปลัดเมืองตาก พระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับ กล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้ว ถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้า เมืองตาก และครั้งที่ 2 เป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Loy Krathong in Tak ลอยกระทงจังหวัดตาก

The history of Loy Krathong is rather obscure. Some believe that Krathong was first created by Tao Sri Chulalak or Nang Noppamas in Sukothai.
Others overlook its origin and instead focus on the purposes of the ritual: to pay respect to the Goddess of the Water showing their gratitude on their plentiful use of water and ask for forgiveness in the ensuing pollution. Floating the beautiful Krathong away, which is the key activity in Loy Krathong, also refers to flying away misfortune and bad things in the past and asking for good luck in the future. Although it is not a national holiday, many activities other than floating Krathong, are conducted during this festival. Examples of these activities are contests activities are contests involving Krathong-making and Noppamas beauty pageants, local games and performances and fireworks.

Loy Krathong in Tak

Or you can go to Tak where a line of thousand glittering lights are seen on the Ping River . When looking closer, you see that Krathongs here are made of coconut shells, threaded together to make chains and that's the story of Loy Krathong Sai. You can see Loy Krathong Sai made from banana trunk in Samut Songkram too. In Tak province, the celebration of the Loy Krathong Sai Festival reflects the unity of the local people. Groups of people gather at the river banks, each bringing along thousands of Krathong made from coconut shells and dried wicks made from coconut flesh anointed with oil or ash and sing and dance merrily.
The span of the Ping River that passes by the provincial city of Tak is not deeper than one's waist, with underwater sand bars curving into different shapes, forcing the current to meander. When the lit Krathongs are floated onto the right current, one after another, they would meander along and make beautiful and twinkling curving lines, or Sai in Thai, amid the darkness of the night
.Loy Krathong Sai in TakLoy Krathong Sai in Tak